ทำไมเด็กไทย ถึง เหงานัก
ทำไมเด็กไทย ถึง เหงานัก
ความขี้เหงา เป็นอารมณ์นึงที่พบมากในเด็กปัจจุบัน
1.เกิดจากความขาดเป้าหมาย
2.ขาดการนำใจมาหยุดอยู่กับตัวเอง
3.แล้วก็คิดว่า ตนเองไม่สำคัญพอ
เหตุหลักๆเลย สถิติการจดทะเบียนสมรสเกิดการหย่าร้าง 30% ในทุกห้องเรียน จะมีเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อทั้งแม่ ในเด็ก 3 คน จะพบ 1 คนที่มีปัญหาครอบครัว
เพราะฉะนั้นไม่ใช่น้อยๆ เมื่อถึงเทศกาลวันแม่ ยิ่งตอกย้ำความว้าเหว่ โหยหา แล้วมันเยียวยาได้ทางที่ง่าย ก็คือ ความรักหรือเพศสัมพันธ์
พวกเขาไม่คิดว่าตนเองเป็นที่รักมากพอ เพราะตัดสินจากสิ่งที่พ่อแม่ทำ จึงคาดหวังให้คนรอบข้างรักเขา หรือมองหาคนเข้าใจ แล้วก็เอาอกเอาใจใส่เขา มากกว่าการเรียน
ใจของเขาเลยไม่โฟกัสที่ตัวเอง เพราะมองไปรอบตัวว่ามีใครรู้สึกดีกับเขาบ้าง “....อยากเป็นคนที่ถูกรัก อยากเป็นคนที่ถูกใครสักคนเข้าใจ...”
แนวเพลงต่างๆก็แต่งออกมาสะท้อนอารมณ์เรียกเรตติ้งความชอบใจไปอีก
”...ถ้าฉันอยู่ตรงนี้ให้นานกว่าที่เคยมา ใช้เวลามองหาให้นานกว่าที่เคยใช้”
... ล้วนโปรแกรมจิตให้เด็กหยุดอยู่ในห้วงเวลาแห่งการแสวงหาคนรู้ใจ มากกว่าการตั้งเป้าหมายการเรียนหรืออนาคต หรือเขาอาจจะบอกว่า การเรียนก็ไม่มีครูพาเขาคุยถึงอนาคตเท่าไหร่ การเรียนเป็นเรื่องของครู ครูอยากสอน แต่เด็กไม่อยากเรียน และเด็กก็ไม่รู้ว่าครูก็ไม่ได้อยากสอน แต่ระบบมันบังคับให้สอนตามนี้
ผมกับทีมงานเลยต่อสู้เรื่องนี้มา รณรงค์ยกเลิกการประเมินต่างๆที่ต้องจัดบอร์ด ตรวจเอกสาร ทำผลงาน ที่โรงเรียนได้ประโยชน์มีชื่อเสียงรางวัล แต่เด็กไม่ได้ประโยชน์ รณรงค์ให้ครูสอนแบบใหม่ และสร้างกระบวนการเข้าใจเด็ก ลดช่องว่างระหว่างครู เพื่อแก้ปัญหาหลักนี้ก่อน ก่อนจะพาเด็กก้าวไกลระดับโลก ปัญหานี้สำคัญเป็นกระดุมเม็ดแรกการศึกษา
ดูจากอะไร จากการสำรวจด้วยโปรแกรมวิเคราะห์นิสัย www.habitscode.com ประเมินพฤติกรรมและแรงจูงใจเด็ก ด้วยจิตวิทยาคน 6 สี
พบว่า 40% จากจำนวนเด็กที่ทำแบบทดสอบทั่วประเทศ กว่า 300,000 คน มี ปริมาณเด็กโปรไฟล์นิสัยสีเหลือง เกือบครึ่งนึง ซึ่งเยอะมาก และโปรไฟล์สีเหลืองคือกลุ่มเด็กที่มีความสนใจด้านความสัมพันธ์ มีความพอใจด้านการเป็นที่รัก ไม่ชอบสันโดษ รักสนุก ชอบพบปะผู้คน ต้องการความเอาใจใส่
และประชากรสีไหนน้อยสุดรู้ไหม ตอบคือ โปรไฟล์นิสัยสีแดง ซึ่งคือคนมีเป้าหมายชัดเจน รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรแล้วริเริ่มลงมือทำ เรียนรู้นำไม่เรียนรู้ตาม มีเพียง 6% เท่านั้น นั่นแปลว่าในโรงเรียนไทยจะขาดการสร้างผู้นำที่มาจากสัญชาตญาณแท้ หรือขาดนักนวัตกรรม นักธุรกิจหรือผู้นำที่ควรจะพอฝากฝังประเทศได้ หรืออาจจะมีมากแต่เด็กกลุ่มนี้ออกนอกระบบไปแล้ว เพราะบุคลิกภาพเขาไม่อดทนต่อระบบและการถูกบังคับ อีกทั้งระบบการสอนออกแบบให้เหมาะกับเด็กสีเขียวหรือน้ำเงิน
.
ซึ่งบริบทโรงเรียนไทยเป็นแบบนี้ มีกระบวนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อคนเฉพาะกลุ่มสีเท่านั้น หรือดูที่ครูก็ได้ ประชากรครูที่ทำแบบทดสอบจาก 20,000 คน มีโปรไฟล์สีเขียวมากที่สุด สีเขียวก็คือ นิสัยคนที่รักสงบชอบความมั่นคงแน่นอน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยินดีทำตามระบบและต่อต้านหากมีความไม่แน่นอน แต่ก็ทำได้แค่บ่น ซึ่งสอนตามระบบที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่เหมาะกับเด็กไทยยุคนี้ และก็ไม่มีครูสีแดงลุกขึ้นมารณรงค์สักเท่าไหร่ อย่างมากก็ออกนอกระบบ ลาออกสอนพิเศษทำแคมป์แทน สรุปคือ ระบบการศึกษายังไม่สามารถดึงใจเด็กให้หันมาสนใจตัวเองที่มากพอ และผลการเรียนดีๆก็ไม่รู้จะทำไปเพื่อให้ใครภูมิใจ พ่อแม่ก็ไม่อยู่สักหน่อย คนที่ใส่ใจฉันคือเพื่อนและแฟน!!!
ทุกอย่างนี้คือข้อมูลข้อเท็จจริงสำหรับการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ประถม-มัธยม ที่นับว่า ถ้าโรงเรียนไม่แก้ไขในการสอนให้เขามีความรักที่ถูกต้อง เปิดกว้างในการสอนเรื่องเพศและการพูดคุยในเรื่องที่เขาชอบคุยกันกับหมู่เพื่อน ซึ่งมันมากกว่าการคุยเรื่องเรียน
จะยัดภาษาคอมพิวเตอร์ โค้ดดิ้ง ใดๆไป เขาก็ยังไม่พร้อมรับ เพราะเขาต้องการความอบอุ่น ความรัก ซึ่งมันต้องมากพอ พอจนเขาจะรักตัวเองเป็นแล้ว 1.กำหนดเป้าหมาย กับ 2. เอาใจมาไว้กับตัวได้ก่อน และ 3.ให้เขารู้สึกว่าเขาสำคัญกับการเรียนเพื่อใครสักคน แม้จะไม่ใช่เพื่อพ่อแม่ของเขาก็ได้ แต่เพื่อตัวเขาเอง
การศึกษาไทยจึงจะก้าวหน้าและติดกระดุมเม็ดถัดไปได้
จักรกฤษณ์ ศักดิ์สุวรรณ C.Ht
Cr. เพจ HabitScan จริตนิสัย6