7 จิตวิทยาสอนลูกให้เชื่อฟัง แม้ขณะลูก โกรธ | บทความ

บทความ


7 จิตวิทยาสอนลูกให้เชื่อฟัง แม้ขณะลูก โกรธ

Blog Single

บางครั้งที่ลูกเราดื้อ หรือซนนั้น อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เป็นสิ่งหล่อหลอมพฤติกรรมของลูก รวมถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน และคุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้ไปในทิศทางที่ดี ได้ด้วยการพูดหรือการสื่อสารกับลูกในเวลาที่เขาดื้อรั้นหรือไม่เชื่อฟังและกำลังต่อต้านเรานั่นเอง ซึ่งการสื่อสารด้วยการพูดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่ามันสามารถกระทบต่อพฤติกรรมการรับฟังของลูกได้อย่างดี โดยเฉพาะในช่วงวัย 2 - 5 ขวบ และเด็กจะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ว่าเขายังสื่อสารและยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ จึงทำให้ใครหลาย ๆ คนมองว่า ลูกเรานั้นเป็นเด็กดื้อ วันนี้ เราจึงมี 7 วิธีพูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง แม้ลูกกำลังโมโหอยู่ มาเป็นตัวช่วยให้กับคุณพ่อคุณแม่จัดการกับลูกได้นั่นเอง

  1. พูดให้ลูกได้คิด
    คุณพ่อคุณแม่ลองพูดข้อดี ข้อเสียให้ลูกได้ลองคิด ได้ไตร่ตรอง รวมทั้งคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของตนเองว่า ที่เขาทำลงไปนั้น เขาทำถูกหรือทำผิด การที่ปล่อยให้ลูกได้ลองนั่งคนเดียว หรืออยู่กับตัวเอง จะช่วยให้อารมณ์ของลูกสงบลงได้นั่นเอง
  2. ใช้คำพูดเชิงบวกกับลูก
    คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามอย่าใช้คำพูดว่า " ไม่ " หรือ " ห้าม " กับลูก
    รวมทั้งปรับเปลี่ยนการใช้คำพูดต่าง ๆ ให้เป็นในด้านบวกจะดีมาก
    เช่น ถ้าเราไม่อยากให้ลูกวิ่ง แทนที่จะบอกว่า "อย่าวิ่งสิลูก" 
    ให้เปลี่ยนเป็นเดินช้า ๆ สิลูก การบอกเขาเช่นนี้นั้น ลูกจะยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตามได้ง่ายกว่า
  3. ใช้น้ำเสียงให้ถูกต้องและถูกเวลา
    การที่คุณคุยกับลูกด้วยเสียงที่ดัง ตะโกนหรือตะเบงเสียงใส่เขาอยู่ตลอดเวลานั้น 
    เขาจะไม่เข้าใจว่า เราต้องการจะสื่ออะไรกันแน่
    พูดธรรมดาหรือว่ากำลังดุเขา ซึ่งอาจจะส่งผลให้เขา ไม่ฟังหรือไม่ปฏิบัติตามคุณได้ 
    ทางที่ดีแล้วนั้น จึงต้องบอกให้เขาฟังว่า น้ำเสียงแบบนี้แปลว่าอะไร แบบนี้คือ แม่กำลังโกรธอยู่นะ
    หรือแค่เตือนให้เขารับรู้สิ่งที่เราต้องการที่อยากจะสื่อไปให้จริง ๆ ด้วยน้ำเสียงที่ ราบเรียบแต่ทรงพลังนั่นเอง
    และสิ่งที่สำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงเลย ก็คือ
    หากเราใช้น้ำเสียงที่ดัง ดุลูกบ่อย ๆ อาจทำให้เขาคิดพฤติกรรมนั้น จนกลายเป็นนิสัยที่ไม่ดีจากเรา ตอนที่โมโหก็ได้นะ
  4. พูดให้เข้าใจง่าย สั้น ๆ และกระชับใจความ

            เด็กวัยนี้ ยังไม่สามารถฟังและทำสิ่งต่าง ๆ หลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
            พวกเขาจะจับใจความได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
            หากฟังสิ่งที่ยาว ๆ เด็กก็จะงง งอแงและลืมได้ง่าย 
            ดังนั้นแล้ว เมื่อลูกกำลังโมโหให้พูดกับลูกสั้น ๆ แบบกระชับ ไม่บ่น หรือยืดเยื้อ
            บอกแค่ว่า เขาทำผิดอะไร และให้โอกาสเขาได้ลองทบทวนกับตัวเองว่าผิดจริงมั้ย ?
            จากนั้น ค่อยหันหน้าให้ลูก เปิดใจรับฟังปัญหาแล้วค่อยจับเข่าคุยกันอีกที

        5. มีทางเลือกให้ลูกตัดสินใจ
             หากลูกดื้อแล้วเราอยากให้ลูกทำตามในสิ่งที่เราพูด
             เราควรเสนอทางเลือกให้เขาได้เลือกเอง เพราะเขาจะรู้สึกมีอำนาจในการตัดสินใจ 
             เช่น หนูจะเล่นต่ออีก 1 หรือ 2 นาทีก่อนจะไปอาบน้ำดีคะ ?

        6. อ่อนโยน แต่ เด็ดขาด
             คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักการเลือกใช้คำพูดให้ลูกรู้สึกยอมฟัง
             หรือเรียกอีกอย่างว่า "อ่อนโยน แต่เด็ดขาด" นั่นเอง ควรใช้คำพูดไม่สั่งลูกจนเกินไป    
แต่ก็ยังคงอ่อนโยนไม่ทำให้ลูกหวาดกลัว

7. เรียกชื่อลูกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะพูดให้ลูกทำอะไร
วิธีนี้จะช่วยให้ดึงดูดความสนใจของลูกเราก่อน
ให้เขาหันมาสนใจและตั้งใจฟังในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังจะพูดโดยวิธีการพูดนั้น
คือให้เรียกชื่อลูกแล้วหยุดเรียกจนกว่าลูกจะหันมามองเราอย่างตั้งใจ
แล้วถึงค่อยอธิบายเหตุผลต่าง ๆ ให้ลูกเข้าใจในเรื่องที่ทำ
ให้ลูกโกรธหรือโมโห ที่สำคัญ ต้องคุยกับลูกด้วยเหตุผลเป็นหลัก
เช่น เบลลูก เบลเงยหน้ามามองแม่ก่อนนะคะ เป็นต้น

แชร์บทความนี้
เขียนโดย วัลลภ ชูชาติ
ทุกคนสามารถทำได้ทุกอย่างบนโลก ถ้าเอาจริง

บทความล่าสุดในหมวดหมู่เดียวกัน

ความคิดเห็น